วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

No.17


Thursday 28 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้เป็นการนำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของภาคเรียนนี้






ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีคำแนะนำทีดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจพรีงานของตนเองมาก
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม





No.16


Monday 25 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้สอนประสบการณ์เรื่องสีแต่ยังไม่ผ่าน จึงนั่งฟังและให้ความร่วมมือช่วยเป็นเด็กให้เพื่อน





ประเมินอาจารย์
ให้คำแนะนำอย่างดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจนำเสนองานดี
ประเมินตนเอง
ยังเตรียมมาไม่ดีพอ









No.15


Monday 18 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

Executive Functions (EF)
คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด
การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การก
ระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 - 6 ปี
เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย
Executive Functions (EF)
ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍ การให้ลูกดื่มนมแม่ในช่วง 6 เดือน
. ไห้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
. แสดงความรักด้วยการกอด หอม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น
ㆍเล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก
. ไห้ลูกเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น
2. ทักษะการยังคิด (Inhibitory Control)
คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ - ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของ
ตนเอง เป็นต้นกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍ ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้สมาธิ ใช้สมองในการวางแผน และคิดแก้ไขปัญหา
. ส่งเสริมด้านดนตรี
ㆍ พูดคุยกับลูกบ่อยๆ หากลูกมีความกังวลใจ ให้ลูกเล่าออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อช่วยระบายความรู้สึก
ㆍ.สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น เวลารู้สึกโมโห ให้นับตัวเลข 1-10 หรือหายใจ
เข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จนรู้สึกดีขึ้น ไม่หงุดหงิดโวยวาย หรือไปทำร้ายคนอื่น
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์
กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
. กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสี การปั้น การพับ ตัด ปะ
ㆍ ฝึกให้ลูกทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
ㆍ การต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีกิจกรรมที่ควรส่งเสริม
ได้แก่ :
. การอ่านหนังสือ
ㆍการฟังเพลง วาดรูป ระบายสี
ㆍการเรียนรู้ผ่านการเล่น
. การต่อจิ๊กซอว์ / ต่อบล็อกรูปทรงต่างๆ
. การสวดมนต์ ไหว้พระก่อนนอน
5.การควบคุมอารมณ์(Emotion Control)
ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่ายกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
. การอ่านนิทานที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ดี
. ไห้ลูกได้เล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อรู้จักการแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่แชงคิว
. ไห้ลูกช่วยงานบ้าน และช่วยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ใช้บริจาคสิ่งของไปให้เด็กคนอื่นๆ ที่ขาดแคลน
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเองกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍสอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลา
ㆍ สอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น เก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ด้วยตนเอง
. ไห้ลูกรับผิดชอบงานในบ้าน โดยให้เขาเลือกเองก็ได้ ลูกจะได้ทำอย่างมีความสุข
7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดย
ทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่
ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วย
8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍ เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ
ㆍ เมื่อลูกวาดรูประบายสี ลองให้เขาเล่าผลงานของเขาว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร เขาจะเล่าด้วยความภูมิใจ
. พาลูกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อให้มีสังคม และได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคงยๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
. กิจกรรมด้านดนตรี กีฬ และศิลปะ
. การต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก ของเล่นไม้ เกมตึกถล่ม
ㆍ หมากฮอส หมากรุก
แนวการสอนแบบไฮสโคป (High/Scope)
แนวคิดพื้นฐาน
การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage' s
Theory) ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้าง
ความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of
learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้
เด็กเกิดความรู้ขึ้น เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิด
นี้ ในการเรียนเด็กสามารถลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงาน
ของตนเอง เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผน
การทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงาน
ร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ ถามคำถาม สนับสนุน และเพิ่มเติม
สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้
แนวคิดสำคัญ
แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย
ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือรันการ
เรียนการสอนการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัด
กระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียม
อุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ
คือ
- การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบ
หมาย มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้
แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
- การปฏิบัติ ( D๐ ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก
ปัญหา ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทาง
สังคมสูง
- การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและ
เล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีการ
เปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ และผลงานที่
ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ

ประเมินอาจารย์
สอนดีอธิบายได้ชัดเจนสอดแทรกการเล่นในการเรียน
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา


No.14
Monday 11 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้มีการปรับเปลี่ยนจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนใหม่ เพื่อให้เกิดการน่าเรียนมากยิ่งขึ้น



ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย แนะนำการจัดวางสิ่งของ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือช่วยกันทำความสะอาดในการจัดวางของ
ประเมินตนเอง
มีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนๆและอาจารย์ในการยกของจัดเตรียมสถานที่





No.13




Monday 4 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้งดคลาส เนื่องจาก คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก
จึงสั่งหยุด วันที่ 4 และ 5 พฤศจิกายน 2562



No.12

Monday 28 october 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

อาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
ผู้ช่วยศาสตรจารย์กรรณิการ์ สุสม
ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง สารนิทัศน์
สารนิทัศน์ มาจากคำว่า "สาระ" หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
"นิทัศน์" หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น "สารนิทัศน์"จึงมีความหมายว่า ส่วน
สำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มา
ใช้อย่างหลากหลาย
โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูล
อย่างชัดเจน ดังนั้นการจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดง
ให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโตพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม
ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่มันทึกเป็นระยะๆจะเป็นข้อมูลอธิบาย
ภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการข้องเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่
สุขภาพ





ประเมินอาจารย์
วิทยากรเป็นผู้ที่มีความรู้สูงการอธิบายค่อนข้างแจ้ง
ประเมินเพื่อน
ให้ความร่วมมือในการฟังการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังพร้้อมจดบันทึกให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม



No.11


Monday 21 october 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและกระดาษที่ได้ไปให้ช่วยกันวาดรูปออกมาเป็นแม่น้ำให้เพื่อนทายว่าในภาพคือแม่น้ำอะไร




ประเมินอาจารย์
มีการสอนรูปแบบใหม่ๆ มีการอธิบายได้อย่างดี
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจทำผลงานออกมาได้ดี
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่ได้รับ มีความคิดเห็น



No.10

Monday 7 october 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock
วันนี้อาจารย์สอนเรื่องแนวการสอนแบบโปรเจค
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ ต้องพัฒนา มีความคิด มีความ มุ่งหมายความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น ของตนเองต้องพึ่งตนเองการสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อม วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหาจัดเป็นหัวใจของการสอน แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน เพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถคัน ความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติและวางแผ่น โครงการใหม่วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับ มอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหาหรือให้เด็กนำเสนอผลงานในรูปของการจัด แสดงจัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน







ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา อธิบายได้อย่างดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจในการฟังและการทำงาน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี








No.9



Monday 30 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock



สอบกลางภาค





No.8


Monday 23 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

กลุ่มที่ 5และ6 แนวการสอนเกี่ยวกับ Executive Functions (EF)
คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด
การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การก
ระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 - 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น
หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย
EXECUTIVE FUNCTIONS (EF)
ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (WORKING MEMORY)
2. ทักษะการยังคิด (Inhibitory Control)
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
5.การควบคุมอารมณ์(Emotion Control)
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
7. การประเมินตนเอง (SELF-MONITORING)
8. การริเริ่มและลงมือทำ (INITATING)
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (GOAL-DIRECTED PERSISTENCE)
กลุ่มที่ 7 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มี
ความคิด มีความม่หมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเอง
ต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างก๊ายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร
กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่นนระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอน
แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
เพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้น
ความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ
เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ
ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้
รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของ
การจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
รูปภาพการสอน

กลุ่มที่8 : แนวการสอนเกี่ยวกับ STEM
เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อัน
ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติ
ของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้
เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระ
1. วิทยาศาสตร์ (S: Science) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษา
มักชี้แนะให้อาจารย์ครูผู้สอนใช้
วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ
(Inquirybased ScienceTeaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (cientific
Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต
ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายและไม่
สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM จะทำให้นักเรียนสนใจมีความกระตือรือรัน รู้สึก
ท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ใน
ระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน
2. เทคโนโลยี (T: Technology) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง
เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราโดยผ่าน
หรือกระบวนการต่างๆ
กระบวนการ ทำงานทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า
Engineering Design หรือ Design
Process ซึ่งคล้ยกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ
ICTตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ
3.วิศวกรรมศาสตร์(E: Engineering) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนา
นวัตกรรมต่างๆให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลย
ซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็ก
อนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
4. คณิตศาสตร์(M: Mathematics) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต
เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ
แรกคือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์
ประการ
(Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบ การจำแนก/จัดกลุ่มการ จัดแบบ
รูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ ร่าย
ทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้
ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อ
มาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking)
จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

กลุ่มที่ 9และ 10 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่
เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตส
ซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก
โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัด
ทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตก
ต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาท
สัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงาน
บ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการ
คิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและ
หลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้
ประสาทสัมผัสร่วมกัน
แนวการสอนแบบมอนเตสชอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม
และอุปกรณ์ของมอนเตสชอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่
ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และ
ในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บ
อุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
หลักการสอนของมอนเตสซอร
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเด็กจึงควรได้รับ
การยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเองคุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคน
ตามความสามารถและพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วง
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำโดยเด็กจะซึมชับเอา
ข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับ
การเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระ
ในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการ
จัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน
โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม
และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิด
ชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความ
เชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผลโดยใช้วิธีการสังเกตและ
วิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และ
ผ่านการฝีกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการ
สังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน


ประเมินอาจารย์ 
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ให้คำแนะนำปรับปปรุงที่ดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจพรีเซ้น และตั้งใจฟังเพื่อน
ประเมินตนเอง 
ตั้งใจพรีเซ้นงานของตนเองและเป็นผู้รับฟังที่ดี





No.7




Monday 16 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock
อาจารย์ให้มาเรียนรวมกัน เพราะว่าจะให้นำเสนอเกี่ยวกับแนวการสอนเรื่องต่างๆที่ได้จับฉลากกันไป
  1. กลุ่มที่ 1และ 2 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ไฮสโคป(High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ 1. การวางแผน(Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้ รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะท อะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือ บอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ 2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดย มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง 3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
  2. กลุ่มที่ 3 แนวการสอนเกี่ยวกับ Project Approach เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับ เรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามหล่นั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับวคำตอบที่ เด็กๆจะสำรวจสืบคันได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อ เปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง Project Approach ระยะที่2 - การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบคันได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความ เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆ ใช้หนังสือและคอมพิวเตอรไนการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่ เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่ง เสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้คันพบคำตอบหรือ เรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่งๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและ นับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถ พิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย Project Approach ระยะที่3 - การสรุป Project เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และ เด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับ การคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆดันพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดง เพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ " Project Approach " ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมนักสืบร่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และคันพบกันอย่าง สนุกสนาน กระตือรือรั้นและภาคภูมิใจ
  3. กิจกรรมในห้องเรียนมีการเรียนรู้หลากหลายอย่างเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน เด็กสามารถเลือกตามความสนใจ ของเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ครูจะชักชวนให้เด็กได้ฝึกทักษะจากสื่อหลากหลายและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความ พร้อมของเด็กแต่ละคน ทั้งเป็น กลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก และรายบุคคล สลับกันไป โดยคำนึงถึงความแตก ต่างของเด็กแต่ละคนในทุกด้าน กลุ่มที่ 4 แนวการสอนเกี่ยวกับ STEM เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระ วิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา ทักษะที่สำคัญและจำเป็น การจัดการเรียนรู้แบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียน รู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการ (1) จัดการเรียนรู้ที่นั้นการบูรณาการ (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้อง กับเนื้อหา เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการ คิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอ ผลงานที่ผ่นการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเต็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำดี อธิบายสิ่งที่พลาดให้เข้าใจ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีการเตรียมในการพรีเซ้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังพร้อมมีการจดบันทึก





No.6





Monday 9 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและแผนที่เขียนมาควรมีปรับปรุงตรงไหนบ้าง








ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำดี แต่งกายสุภาพ
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือเพื่อน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนออกไปช่วยทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ




No.5

Monday 2 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้เรียนกันทั้งสองเซค อาจารย์สอนการเขียนแผนเคลื่อนไหวและนำแผนที่เขียนไปสอนเพื่อนพร้อมอัดคลิป




ประเมินอาจารย์
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันในขณะที่อาจารย์พูด
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเขียนแผน ตั้งใจฟังอาจารย์



No.4



Monday 26 August 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

อาจารย์สอนการนำหน่วยเรียนรู้ที่มาสอนเด็ก และนำมาเขียนแผน ควรศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรให้ดีและควรอ้างอิงเนื้อหาจากกิจกรรมที่เด็กควรจะได้เรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
-เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่สิงแวดล้อม
-ธรรมชาติรอบตัว
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก




ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีอธิบายเข้าใจง่าย แต่งกายสุภาพ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย




วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


หน่วย ครอบครัวหรรษา  เรื่อง หน้าที่ของบุคคลในครอบครัว


เชิญรับชมได้เลยค่ะ














No.3




Song For Children




เพลง ลาแล้วลาก่อน

ลาแล้วลาก่อน

หนูรักคุณครู

คิดถึงคุณครู

ลาแล้วลาก่อน

สวัสดีคุณครู



เพลง 1 ปีนั้นมี 12 เดือน

1 ปีนั้นมี 12 เดือน

อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์

ลัน ลั่น ลัน ล้า



เพลง ล้างมือเสียก่อน

ล้างมือเสียก่อน

ก่อนจะกินอะไร

ล้างมือเข้าไว้

เราปลอดภัยสะอาด

ล้างมือเสียก่อน ล้างมือเสียก่อน ล้างมือเสียก่อน



เพลง มากินข้าวสิ

มากินข้าวสิ มากินข้าวสิ

กับดีๆ กับดีๆ

มีทั้งแกงและต้มยำ (ซ้ำ)

อำอ่ำอำ อำอ่ำอำ



เพลง ตื่นเช้าแปรงฟัน

ตื่นเช้าแปรงฟันล่วงหน้า

อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว

กินอาหารของดีมีทั่ว

หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ

ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

ลั่น ล้า ลัน ลา ลั่น ลา    ลั่น ลัน ลา ลั่น ลา ลัน ล้า



เพลง ลาแล้วลาก่อน

ลาแล้วลาก่อน

หนูรักคุณครู

คิดถึงคุณครู

ลาแล้วลาก่อน

สวัสดีคุณครู



เพลง วันนี้หมดเวลา

วันนี้หมดเวลา บ๊ายบาย นะเธอ

คิดถึงเธอเสมอโบกมือ บ๊ายบาย



เพลง สวัสดีคุณครูที่รัก

สวัสดีคุณครูที่รัก

หนูจะตั้งใจอ่านเขียน

ยามเช้าเรามาโรงเรียน (ซ้ำ)      หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย (ซ้ำ)