วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

No.8


Monday 23 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

กลุ่มที่ 5และ6 แนวการสอนเกี่ยวกับ Executive Functions (EF)
คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด
การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การก
ระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 - 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น
หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย
EXECUTIVE FUNCTIONS (EF)
ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (WORKING MEMORY)
2. ทักษะการยังคิด (Inhibitory Control)
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
5.การควบคุมอารมณ์(Emotion Control)
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
7. การประเมินตนเอง (SELF-MONITORING)
8. การริเริ่มและลงมือทำ (INITATING)
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (GOAL-DIRECTED PERSISTENCE)
กลุ่มที่ 7 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มี
ความคิด มีความม่หมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเอง
ต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างก๊ายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร
กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่นนระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอน
แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
เพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้น
ความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ
เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ
ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้
รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของ
การจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
รูปภาพการสอน

กลุ่มที่8 : แนวการสอนเกี่ยวกับ STEM
เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อัน
ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติ
ของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้
เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระ
1. วิทยาศาสตร์ (S: Science) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษา
มักชี้แนะให้อาจารย์ครูผู้สอนใช้
วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ
(Inquirybased ScienceTeaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (cientific
Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต
ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายและไม่
สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM จะทำให้นักเรียนสนใจมีความกระตือรือรัน รู้สึก
ท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ใน
ระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน
2. เทคโนโลยี (T: Technology) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง
เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราโดยผ่าน
หรือกระบวนการต่างๆ
กระบวนการ ทำงานทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า
Engineering Design หรือ Design
Process ซึ่งคล้ยกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ
ICTตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ
3.วิศวกรรมศาสตร์(E: Engineering) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนา
นวัตกรรมต่างๆให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลย
ซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็ก
อนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
4. คณิตศาสตร์(M: Mathematics) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต
เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ
แรกคือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์
ประการ
(Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบ การจำแนก/จัดกลุ่มการ จัดแบบ
รูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ ร่าย
ทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้
ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อ
มาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking)
จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

กลุ่มที่ 9และ 10 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่
เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตส
ซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก
โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัด
ทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตก
ต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาท
สัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงาน
บ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการ
คิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและ
หลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้
ประสาทสัมผัสร่วมกัน
แนวการสอนแบบมอนเตสชอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม
และอุปกรณ์ของมอนเตสชอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่
ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และ
ในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บ
อุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
หลักการสอนของมอนเตสซอร
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเด็กจึงควรได้รับ
การยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเองคุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคน
ตามความสามารถและพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วง
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำโดยเด็กจะซึมชับเอา
ข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับ
การเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระ
ในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการ
จัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน
โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม
และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิด
ชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความ
เชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผลโดยใช้วิธีการสังเกตและ
วิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และ
ผ่านการฝีกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการ
สังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน


ประเมินอาจารย์ 
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ให้คำแนะนำปรับปปรุงที่ดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจพรีเซ้น และตั้งใจฟังเพื่อน
ประเมินตนเอง 
ตั้งใจพรีเซ้นงานของตนเองและเป็นผู้รับฟังที่ดี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น