วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

No.17


Thursday 28 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้เป็นการนำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของภาคเรียนนี้






ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีคำแนะนำทีดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจพรีงานของตนเองมาก
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม





No.16


Monday 25 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้สอนประสบการณ์เรื่องสีแต่ยังไม่ผ่าน จึงนั่งฟังและให้ความร่วมมือช่วยเป็นเด็กให้เพื่อน





ประเมินอาจารย์
ให้คำแนะนำอย่างดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจนำเสนองานดี
ประเมินตนเอง
ยังเตรียมมาไม่ดีพอ









No.15


Monday 18 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

Executive Functions (EF)
คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด
การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การก
ระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 - 6 ปี
เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย
Executive Functions (EF)
ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍ การให้ลูกดื่มนมแม่ในช่วง 6 เดือน
. ไห้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
. แสดงความรักด้วยการกอด หอม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น
ㆍเล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก
. ไห้ลูกเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น
2. ทักษะการยังคิด (Inhibitory Control)
คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ - ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของ
ตนเอง เป็นต้นกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍ ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้สมาธิ ใช้สมองในการวางแผน และคิดแก้ไขปัญหา
. ส่งเสริมด้านดนตรี
ㆍ พูดคุยกับลูกบ่อยๆ หากลูกมีความกังวลใจ ให้ลูกเล่าออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อช่วยระบายความรู้สึก
ㆍ.สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น เวลารู้สึกโมโห ให้นับตัวเลข 1-10 หรือหายใจ
เข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จนรู้สึกดีขึ้น ไม่หงุดหงิดโวยวาย หรือไปทำร้ายคนอื่น
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์
กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
. กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสี การปั้น การพับ ตัด ปะ
ㆍ ฝึกให้ลูกทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
ㆍ การต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีกิจกรรมที่ควรส่งเสริม
ได้แก่ :
. การอ่านหนังสือ
ㆍการฟังเพลง วาดรูป ระบายสี
ㆍการเรียนรู้ผ่านการเล่น
. การต่อจิ๊กซอว์ / ต่อบล็อกรูปทรงต่างๆ
. การสวดมนต์ ไหว้พระก่อนนอน
5.การควบคุมอารมณ์(Emotion Control)
ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่ายกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
. การอ่านนิทานที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ดี
. ไห้ลูกได้เล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อรู้จักการแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่แชงคิว
. ไห้ลูกช่วยงานบ้าน และช่วยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ใช้บริจาคสิ่งของไปให้เด็กคนอื่นๆ ที่ขาดแคลน
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเองกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍสอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลา
ㆍ สอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น เก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ด้วยตนเอง
. ไห้ลูกรับผิดชอบงานในบ้าน โดยให้เขาเลือกเองก็ได้ ลูกจะได้ทำอย่างมีความสุข
7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดย
ทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่
ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วย
8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
ㆍ เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ
ㆍ เมื่อลูกวาดรูประบายสี ลองให้เขาเล่าผลงานของเขาว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร เขาจะเล่าด้วยความภูมิใจ
. พาลูกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อให้มีสังคม และได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคงยๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
. กิจกรรมด้านดนตรี กีฬ และศิลปะ
. การต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก ของเล่นไม้ เกมตึกถล่ม
ㆍ หมากฮอส หมากรุก
แนวการสอนแบบไฮสโคป (High/Scope)
แนวคิดพื้นฐาน
การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage' s
Theory) ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้าง
ความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of
learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้
เด็กเกิดความรู้ขึ้น เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิด
นี้ ในการเรียนเด็กสามารถลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงาน
ของตนเอง เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผน
การทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงาน
ร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ ถามคำถาม สนับสนุน และเพิ่มเติม
สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้
แนวคิดสำคัญ
แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย
ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือรันการ
เรียนการสอนการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัด
กระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียม
อุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ
คือ
- การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบ
หมาย มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้
แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
- การปฏิบัติ ( D๐ ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก
ปัญหา ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทาง
สังคมสูง
- การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและ
เล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีการ
เปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ และผลงานที่
ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ

ประเมินอาจารย์
สอนดีอธิบายได้ชัดเจนสอดแทรกการเล่นในการเรียน
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา


No.14
Monday 11 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้มีการปรับเปลี่ยนจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนใหม่ เพื่อให้เกิดการน่าเรียนมากยิ่งขึ้น



ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย แนะนำการจัดวางสิ่งของ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือช่วยกันทำความสะอาดในการจัดวางของ
ประเมินตนเอง
มีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนๆและอาจารย์ในการยกของจัดเตรียมสถานที่





No.13




Monday 4 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้งดคลาส เนื่องจาก คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก
จึงสั่งหยุด วันที่ 4 และ 5 พฤศจิกายน 2562



No.12

Monday 28 october 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

อาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
ผู้ช่วยศาสตรจารย์กรรณิการ์ สุสม
ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง สารนิทัศน์
สารนิทัศน์ มาจากคำว่า "สาระ" หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
"นิทัศน์" หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น "สารนิทัศน์"จึงมีความหมายว่า ส่วน
สำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มา
ใช้อย่างหลากหลาย
โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูล
อย่างชัดเจน ดังนั้นการจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดง
ให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโตพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม
ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่มันทึกเป็นระยะๆจะเป็นข้อมูลอธิบาย
ภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการข้องเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่
สุขภาพ





ประเมินอาจารย์
วิทยากรเป็นผู้ที่มีความรู้สูงการอธิบายค่อนข้างแจ้ง
ประเมินเพื่อน
ให้ความร่วมมือในการฟังการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังพร้้อมจดบันทึกให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม



No.11


Monday 21 october 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและกระดาษที่ได้ไปให้ช่วยกันวาดรูปออกมาเป็นแม่น้ำให้เพื่อนทายว่าในภาพคือแม่น้ำอะไร




ประเมินอาจารย์
มีการสอนรูปแบบใหม่ๆ มีการอธิบายได้อย่างดี
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจทำผลงานออกมาได้ดี
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่ได้รับ มีความคิดเห็น



No.10

Monday 7 october 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock
วันนี้อาจารย์สอนเรื่องแนวการสอนแบบโปรเจค
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ ต้องพัฒนา มีความคิด มีความ มุ่งหมายความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น ของตนเองต้องพึ่งตนเองการสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อม วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหาจัดเป็นหัวใจของการสอน แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน เพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถคัน ความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติและวางแผ่น โครงการใหม่วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับ มอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหาหรือให้เด็กนำเสนอผลงานในรูปของการจัด แสดงจัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน







ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา อธิบายได้อย่างดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจในการฟังและการทำงาน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี








No.9



Monday 30 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock



สอบกลางภาค





No.8


Monday 23 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

กลุ่มที่ 5และ6 แนวการสอนเกี่ยวกับ Executive Functions (EF)
คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด
การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การก
ระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 - 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น
หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย
EXECUTIVE FUNCTIONS (EF)
ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (WORKING MEMORY)
2. ทักษะการยังคิด (Inhibitory Control)
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
5.การควบคุมอารมณ์(Emotion Control)
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
7. การประเมินตนเอง (SELF-MONITORING)
8. การริเริ่มและลงมือทำ (INITATING)
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (GOAL-DIRECTED PERSISTENCE)
กลุ่มที่ 7 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มี
ความคิด มีความม่หมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเอง
ต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างก๊ายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร
กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่นนระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอน
แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
เพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้น
ความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ
เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ
ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้
รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของ
การจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
รูปภาพการสอน

กลุ่มที่8 : แนวการสอนเกี่ยวกับ STEM
เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อัน
ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติ
ของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้
เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระ
1. วิทยาศาสตร์ (S: Science) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษา
มักชี้แนะให้อาจารย์ครูผู้สอนใช้
วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ
(Inquirybased ScienceTeaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (cientific
Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต
ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายและไม่
สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM จะทำให้นักเรียนสนใจมีความกระตือรือรัน รู้สึก
ท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ใน
ระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน
2. เทคโนโลยี (T: Technology) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง
เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราโดยผ่าน
หรือกระบวนการต่างๆ
กระบวนการ ทำงานทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า
Engineering Design หรือ Design
Process ซึ่งคล้ยกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ
ICTตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ
3.วิศวกรรมศาสตร์(E: Engineering) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนา
นวัตกรรมต่างๆให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลย
ซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็ก
อนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
4. คณิตศาสตร์(M: Mathematics) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต
เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ
แรกคือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์
ประการ
(Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบ การจำแนก/จัดกลุ่มการ จัดแบบ
รูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ ร่าย
ทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้
ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อ
มาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking)
จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

กลุ่มที่ 9และ 10 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่
เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตส
ซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก
โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัด
ทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตก
ต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาท
สัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงาน
บ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการ
คิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและ
หลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้
ประสาทสัมผัสร่วมกัน
แนวการสอนแบบมอนเตสชอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม
และอุปกรณ์ของมอนเตสชอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่
ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และ
ในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บ
อุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
หลักการสอนของมอนเตสซอร
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเด็กจึงควรได้รับ
การยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเองคุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคน
ตามความสามารถและพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วง
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำโดยเด็กจะซึมชับเอา
ข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับ
การเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระ
ในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการ
จัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน
โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม
และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิด
ชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความ
เชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผลโดยใช้วิธีการสังเกตและ
วิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และ
ผ่านการฝีกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการ
สังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน


ประเมินอาจารย์ 
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ให้คำแนะนำปรับปปรุงที่ดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจพรีเซ้น และตั้งใจฟังเพื่อน
ประเมินตนเอง 
ตั้งใจพรีเซ้นงานของตนเองและเป็นผู้รับฟังที่ดี





No.7




Monday 16 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock
อาจารย์ให้มาเรียนรวมกัน เพราะว่าจะให้นำเสนอเกี่ยวกับแนวการสอนเรื่องต่างๆที่ได้จับฉลากกันไป
  1. กลุ่มที่ 1และ 2 แนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ไฮสโคป(High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ 1. การวางแผน(Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้ รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะท อะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือ บอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ 2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดย มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง 3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
  2. กลุ่มที่ 3 แนวการสอนเกี่ยวกับ Project Approach เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับ เรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามหล่นั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับวคำตอบที่ เด็กๆจะสำรวจสืบคันได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อ เปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง Project Approach ระยะที่2 - การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบคันได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความ เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆ ใช้หนังสือและคอมพิวเตอรไนการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่ เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่ง เสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้คันพบคำตอบหรือ เรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่งๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและ นับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถ พิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย Project Approach ระยะที่3 - การสรุป Project เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และ เด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับ การคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆดันพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดง เพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ " Project Approach " ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมนักสืบร่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และคันพบกันอย่าง สนุกสนาน กระตือรือรั้นและภาคภูมิใจ
  3. กิจกรรมในห้องเรียนมีการเรียนรู้หลากหลายอย่างเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน เด็กสามารถเลือกตามความสนใจ ของเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ครูจะชักชวนให้เด็กได้ฝึกทักษะจากสื่อหลากหลายและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความ พร้อมของเด็กแต่ละคน ทั้งเป็น กลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก และรายบุคคล สลับกันไป โดยคำนึงถึงความแตก ต่างของเด็กแต่ละคนในทุกด้าน กลุ่มที่ 4 แนวการสอนเกี่ยวกับ STEM เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระ วิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา ทักษะที่สำคัญและจำเป็น การจัดการเรียนรู้แบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียน รู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการ (1) จัดการเรียนรู้ที่นั้นการบูรณาการ (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้อง กับเนื้อหา เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการ คิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอ ผลงานที่ผ่นการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเต็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำดี อธิบายสิ่งที่พลาดให้เข้าใจ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีการเตรียมในการพรีเซ้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังพร้อมมีการจดบันทึก





No.6





Monday 9 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและแผนที่เขียนมาควรมีปรับปรุงตรงไหนบ้าง








ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำดี แต่งกายสุภาพ
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือเพื่อน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนออกไปช่วยทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ




No.5

Monday 2 September 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้เรียนกันทั้งสองเซค อาจารย์สอนการเขียนแผนเคลื่อนไหวและนำแผนที่เขียนไปสอนเพื่อนพร้อมอัดคลิป




ประเมินอาจารย์
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันในขณะที่อาจารย์พูด
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเขียนแผน ตั้งใจฟังอาจารย์



No.4



Monday 26 August 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

อาจารย์สอนการนำหน่วยเรียนรู้ที่มาสอนเด็ก และนำมาเขียนแผน ควรศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรให้ดีและควรอ้างอิงเนื้อหาจากกิจกรรมที่เด็กควรจะได้เรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
-เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่สิงแวดล้อม
-ธรรมชาติรอบตัว
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก




ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีอธิบายเข้าใจง่าย แต่งกายสุภาพ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย